ใครเบื่อเคสคอมใหญ่ๆ ในบ้าน มาดูดีกว่าว่าจะเปลี่ยนเป็นเคสคอมเล็กๆ รุ่นไหนดี?
ถ้าใครอยู่หอหรือคอนโดมิเนียมที่ขนาดไม่ใหญ่มาก แต่อยากมีคอมไว้ใช้ล่ะก็ ถ้าไม่เอาเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คก็อาจจะสนใจเคสคอมเล็กๆ อยู่แน่ๆ ซึ่งเคสเหล่านี้นอกจากไม่กินพื้นที่มาก สามารถวางบนโต๊ะคอมร่วมกับเมาส์คีย์บอร์ดที่ใช้งานอยู่ได้สบายๆ ไม่กินพื้นที่เยอะอีกด้วย ขอแค่มีพื้นที่นิดหน่อยแค่เท่ากระดาษ A2~4 ได้ก็สามารถวางเคสคอมเล็กๆ เหล่านี้ลงไปได้สบายๆ ไม่ต้องเคลียร์พื้นที่ในห้องให้วุ่นวายด้วย
จุดแข็งอื่นนอกจากขนาดเล็กไม่กินพื้นที่แล้ว ทางผู้ผลิตก็มักปล่อยของกับเคสคอมไซซ์เล็กเหล่านี้บ่อยๆ มักดีไซน์ให้เคสประเภทนี้ดูเล็กเหมือนเฟอร์นิเจอร์ในบ้านสักชิ้นเช่นตู้ลำโพงแบบ Subwoofer หรือกล่องใส่ของสักชิ้นที่ถูกวางแต่งห้องเพื่อความสวยงาม หรือบางเคสก็มาเป็นโครงเหล็กเปลือยให้เข้ากับการแต่งบ้านสไตล์ลอฟท์ไปเลยก็มี และทางผู้ผลิตก็มักจะใส่ลูกเล่นแปลกๆ มาให้กับเคสเหล่านี้ด้วย เช่นจอหน้าเคสไว้เปิดภาพ Wallpaper หรือเอาไว้แสดงอุณหภูมิภายในเครื่อง, แท่นชาร์จไร้สายที่ฝาบนเคสและบางเจ้าอาจจะแถม Power Supply มาจากโรงงานเลยก็มี ทำให้เคสคอมไซซ์เล็กเหล่านี้มีจุดเด่นตรงลูกเล่นร้อยแปดจากผู้ผลิตด้วยนั่นเอง
เคสคอมเล็กๆ มันดียังไงกันนะ?
สำหรับเคสคอมไซซ์เล็กนี้ เป็นเคสที่ต่างจากเคสปกติที่หลายคนคุ้นตาและมักหาซื้อตามหน้าร้านคอมได้ยากระดับหนึ่งเลย บางทีอาจต้องหาซื้อจากร้านคอมเฉพาะทางหรือหาสั่งบนอินเตอร์เน็ตแทน ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนก็อยากรู้ว่ามันมีข้อดีและข้อสังเกตอย่างไรบ้าง ดังนั้นจะขอจำกัดเป็นข้อๆ ดังนี้
ข้อดีของเคส Mini-ITX
- ประหยัดพื้นที่และน้ำหนักเบา – เมื่อเคสถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กสุดให้พอใช้เมนบอร์ด ITX แล้ว มันจึงไม่กินพื้นที่มากเกินไปตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไปข้างต้น และหลายๆ เคสใช้พื้นที่เท่ากระดาษ A2~4 เท่านั้นจึงวางไว้บนโต๊ะคอมร่วมกับเมาส์คีย์บอร์ดได้สบายๆ ไม่กินพื้นที่และผลพลอยได้ คือน้ำหนักมันเบากว่าเคสสำหรับบอร์ด ATX, E-ATX จึงย้ายตำแหน่งจุดวางบนโต๊ะไปมาได้ตามต้องการ และอาจเอามันไปวางไว้ริมโต๊ะติดกับฝาผนังหรือวางรวมไว้กับชุดเครื่องเสียงก็ดูดีไม่แพ้กัน
- ขนย้ายไปมาได้ง่าย – เมื่อน้ำหนักเบาไม่กินพื้นที่มากแล้ว เคส Mini-ITX ก็สามารถขนย้ายไปไหนมาไหนได้ง่ายไม่หนักมาก เหมาะกับผู้ใช้ที่ย้ายสถานที่ทำงานไปตามไซต์งานต่างๆ หรือเปลี่ยนหอพักบ่อยๆ ก็เหมาะกับเคสประเภทนี้อย่างแน่นอน
- ดีไซน์สวยงามโดดเด่น – ต้องถือเป็นจุดแข็งของเคสเหล่านี้เลย เพราะทางผู้ผลิตมักออกแบบให้ดีไซน์มันดูแปลกตา บางทีเอา Back I/O Panel ไปติดไว้บนเพดานเคส, ทำดีไซน์ให้เป็นโครงเหล็กยึดอุปกรณ์เอาไว้ด้วยกัน หรือบางตัวก็ติดหูหิ้วมาให้ใช้ด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าใครชอบเคสที่ดูแตกต่างน่าจะถูกใจเคส Mini-ITX เหล่านี้อย่างแน่นอน
- ฟีเจอร์และของแถมที่มากับเคสน่าสนใจ – เคสคอมไซซ์เล็กเหล่านี้ผู้ผลิตมักจะใส่ฟีเจอร์อย่างแท่นชาร์จไร้สาย, หน้าจอแสดงผลหน้าเคสเพื่อมอนิเตอร์อุณหภูมิหรือโชว์ภาพที่ชอบ, สายแพสำหรับต่อการ์ดจอเข้าช่อง PCIe บนเมนบอร์ดหรือบางรุ่นก็ติด Power Supply มาให้ใช้เลย ไม่ต้องเสียเงินซื้อแยกก็ได้
ข้อสังเกตของเคส Mini-itx
- จัดสายไฟได้ยาก – เนื่องจากเคสมีพื้นที่จำกัดและขนาดเล็ก หากเก็บสายไฟไม่เก่งหรือไม่ได้ใช้พาวเวอร์ซัพพลายแบบถอดสายไฟได้ สายไฟก็จะบังทิศทางลมทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี ดังนั้นถ้าใครซื้อเคสคอมไซซ์นี้มาใช้ก็เตรียมเข็มขัดรัดสายไฟเตรียมเอาไว้เลย
- ใส่อุปกรณ์บางชิ้นไม่ได้ – เคสคอมไซซ์เล็กมีขนาดและความจุในเคสจำกัด ซึ่งชิ้นส่วนที่ยึดลงเมนบอร์ดได้อย่างแรม, M.2 NVMe SSD อาจจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นฮีตซิ้งค์สำหรับซีพียูต้องดูแบบ Low Profile ไม่ให้สูงจนติดกับขอบเคสหรือต้องใช้ซิ้งค์ระบายความร้อนด้วยน้ำตอนเดียวแทน และต้องเลือกการ์ดจอแยกแบบที่ไม่ยาวเกินไปซึ่งมักเป็นการ์ดจอแบบพัดลมคู่หรือซื้อเป็นการ์ดจอแยกรุ่นที่ออกแบบมาให้ใช้กับเคส Mini-ITX เป็นหลัก โดยผู้ผลิตจะตั้งชื่อรุ่นการ์ดจอโดยมีคำตามท้ายว่า “ITX” หรือ “Single Fan” เป็นต้น
- บางรุ่นต้องใช้ Power Supply ขนาด SFX เท่านั้น – ปัจจุบันนี้พาวเวอร์ซัพพลายของคอมมักเป็นไซซ์ ATX ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป แต่เคสคอมไซซ์เล็กบางรุ่นถูกบีบพื้นที่ให้เล็กเป็นพิเศษเพื่อความสวยงาม บางรุ่นเลยใส่พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ไม่ได้ ต้องหาแบบ SFX ซึ่งเป็นไซซ์เล็กลงและหาซื้อได้ค่อนข้างยากมาใส่แทน ในทางกลับกันพาวเวอร์ซัพพลายแบบ SFX สามารถใส่เคสคอม ATX ได้แต่สายไฟจะสั้นกว่าจึงต้องมีสายต่อเพื่อเพิ่มระยะสายด้วย
จะเห็นว่าเคสคอมไซซ์ Mini-ITX นั้นก็จะมีทั้งข้อดีและข้อสังเกตปะปนกันไป อาจจะจัดสายไฟ, เลือกชิ้นส่วนมาประกอบเครื่องได้ยากกว่า แต่ดีไซน์ของมันก็สวยงามโดดเด่นและประหยัดพื้นที่มากทีเดียว ดังนั้นก่อนจะซื้อเคสคอมเหล่านี้อาจจะต้องชั่งน้ำหนักสักนิดว่าต้องการความสวยงามหรือเอาความง่ายอัพเกรดสะดวกเป็นใจความหลัก
สรุปสเปค 8 เคสคอมเล็กๆ เพื่อสายมินิมอล จัดห้องก็สวยหมกของแรงก็ได้!!
สเปคเคสคอมเล็กๆ | Dimension (cm.) Supported Mainboard |
Supported Heatsink&GPU | Drive Bay | Connectivity | ราคา (บาท) |
Jonsbo C2 | 20×22.4×27.8 ITX mATX ไซซ์ 24.5×21.5 ซม. |
Heatsink ไม่เกิน 80 มม. การ์ดจอ ไม่เกิน 220 มม. |
3.5″ x 2 2.5″ x 2 |
USB-A 3.0 x 1 USB 2.0 x 1 Audio x 1 Mic x 1 |
1,289 |
Jonsbo D31 | 20.5×34.7×44 mATX, ITX |
Heatsink ไม่เกิน 168 มม. การ์ดจอ ไม่เกิน 400 มม. |
3.5″ x 1 2.5″ x 2 |
USB-C 3.2 Gen 2 x 1 USB-A 3.0 x 1 Audio x 1 Mic x 1 |
4,090 |
Hydra mini ITX | 26.3x13x21 ITX |
ไม่จำกัด เพราะเป็น เคสเปิด |
2.5″ x 1 | – | 1,890 |
GEEEK A50 MAX | 15.5×21.4x 32.8 ITX (17×17 cm.) |
Heatsink ไม่เกิน 66 มม. การ์ดจอ ไม่เกิน 320 มม. |
2.5″ x 2 | USB-C 3.1 x 1 | 3,090 |
INWIN B1 | 10.8×30.2×23.8 ITX |
Heatsink ไม่เกิน 60 มม. |
2.5″ x 2 | USB-A 3.0 x 1 HD Audio combo x 1 |
3,590 |
INWIN A1 Plus | 23.1x21x34.3 ITX |
Heatsink ไม่เกิน 160 มม. การ์ดจอ ไม่เกิน 320 มม. |
2.5″ x 2 | USB-A 3.0 x 2 HD Audio x 1 |
4,970 |
Cooler Master NR200P | 36×18.5×27.4 mATX, ITX |
Heatsink ไม่เกิน 155 มม. การ์ดจอ ไม่เกิน 330 มม. |
3.5″ x 2 2.5″ x 3 |
USB-A 3.2 x 2 Audio combo x 1 |
2,990 |
PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR | 17x49x27.4 ITX |
Heatsink ไม่เกิน 85 มม. การ์ดจอ ไม่เกิน 335 มม. |
3.5″ x 1 2.5″ x 4 |
USB-A 3.0 x 2 ปุ่มปรับไฟ D-RGB Mode ปุ่มปรับไฟ D-RGB Color |
3,590 |
8 เคสคอมเล็กๆ น่าใช้ ประหยัดพื้นที่ดีไซน์สวยล้ำเหมือนเฟอร์นิเจอร์ ถูกใจสายจัดโต๊ะคอมแน่นอน
ก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้แนะนำเคสคอมสีชมพูไปแล้ว และเกมเมอร์หลายๆ คนก็อาจจะมองหาเคสคอมเล็กๆ สำหรับเมนบอร์ด ITX อยู่อย่างแน่นอน แต่จะหาเคสทั่วไปก็เจอแต่ดีไซน์แบบเดิมๆ ไม่โดดเด่นเท่าไหร่ ดังนั้นผู้เขียนจึงเลือกเคสคอมเล็กๆ 8 รุ่นที่ดีไซน์มีความสวยโดดเด่นมาให้เลือกกัน โดยมีรายชื่อดังนี้
- Jonsbo C2 (1,289 บาท)
- Jonsbo D31 (4,090 บาท)
- Hydra mini ITX (1,890 บาท)
- GEEEK A50 MAX (3,090 บาท)
- INWIN B1 (3,590 บาท)
- INWIN A1 Plus (4,970 บาท)
- Cooler Master NR200P (2,990 บาท)
- PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR (3,590 บาท)
1. Jonsbo C2 (1,289 บาท)
ถ้าถามหาเคสคอมเล็กๆ แล้วราคาไม่แพงมากล่ะก็ Jonsbo C2 รุ่นนี้นับเป็นดาวค้างฟ้าที่ยังน่าใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ตัวเคสเป็นอลูมิเนียมมีมิติแบบ กว้างxลึกxสูง มีขนาดอยู่ที่ 20×22.4×27.8 ซม. รองรับเมนบอร์ดไซซ์ ITX หรือ mATX ไซซ์ 24.5×21.5 ซม. และใส่พาวเวอร์ซัพพลายขนาด ATX ได้ แต่แนะนำให้เป็นไซซ์ SFX จะสะดวกกว่า รองรับซิ้งค์ระบายความร้อนสูงไม่เกิน 80 มม. และการ์ดจอยาวสุดเพียง 220 มม. เท่านั้น ถ้าใช้เมนบอร์ด ITX จะมีพื้นที่ติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ 3.5″ x 2, 2.5″ x 2 ช่อง มีพอร์ต USB-A 3.0 x 1, USB 2.0 x 1, Audio x 1, Mic x 1 ติดเอาไว้หน้าเคส ซึ่งเรื่องความสวยงามต้องถือว่า C2 เป็นเคสที่เรียบหรูดูดีเหมาะจะวางเอาไว้คู่กับชุดเครื่องเสียงมาก แต่ขนาดของมันก็เล็กและต้องจัดพื้นที่เก็บสายไฟให้เหมาะสมไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดปัญหาเรื่องความร้อนตามมาได้และขนาดตัวของมันก็ไม่ยาวมากจึงใส่แต่การ์ดจอแบบ ITX เท่านั้น ดังนั้นมันอาจจะไม่เหมาะจะเอาไว้ประกอบเป็นเกมมิ่งพีซีแต่ถ้าเอามาทำเป็นเคสคอมทำงานสักตัวก็ไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน
สเปคของ Jonsbo C2
Dimension Supported Mainboard |
20×22.4×27.8 ซม. ITX หรือ mATX ไซซ์ 24.5×21.5 ซม. |
Supported Heatsink&GPU | Heatsink สูงไม่เกิน 80 มม. การ์ดจอยาวไม่เกิน 220 มม. |
Drive Bay | 3.5″ x 2, 2.5″ x 2 |
Connectivity | USB-A 3.0 x 1, USB 2.0 x 1, Audio x 1, Mic x 1 |
Price | 1,289 บาท (Tenda Electronic Lazada) |
2. Jonsbo D31 (4,090 บาท)
ขยับไซซ์ขึ้นมาเล็กน้อยเป็น Jonsbo D31 เคสคอมเล็กๆ แต่ฟีเจอร์ไม่เล็กตามเพราะมีหน้าจอ TFT-LCD ขนาด 8 นิ้ว ความละเอียด HD ติดตั้งมาหน้าเคสให้ผู้ใช้ทำเป็น Wallpaper หรือเปิดเป็นจอเพื่อมอนิเตอร์สถานะตัวเครื่องก็ได้ และแม้มันจะเป็นเคสคอมเล็กๆ แต่สามารถใส่การ์ดจอหรือพาวเวอร์ซัพพลายขนาดมาตรฐานหลายๆ ชิ้นได้สบาย โดยมิติตัวเคสอยู่ที่ 20.5×34.7×44 ซม. จึงใส่เมนบอร์ด mATX, ITX และรองรับพาวเวอร์ซัพพลาย ATX ได้สบายๆ ใส่ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5″ x 1, 2.5″ x 2 ช่องได้ รองรับฮีตซิ้งค์ได้สูง 168 มม. และการ์ดจอยาวสุด 400 มม. ส่วนพาวเวอร์ซัพพลายรองรับไซซ์ ATX มีพอร์ต USB-C 3.2 Gen 2 x 1, USB-A 3.0 x 1, Audio x 1, Mic x 1 ช่องติดตั้งมาให้ใช้ หากใครอยากได้เคสคอมเล็กๆ แต่มีพื้นที่กว้างพอให้ใส่ชิ้นส่วนคอมต่างๆ ได้สะดวกไม่อึดอัดมากก็แนะนำ Jonsbo D31 ตัวนี้เลย
สเปคของ Jonsbo D31
Dimension Supported Mainboard |
20.5×34.7×44 ซม. mATX, ITX |
Supported Heatsink&GPU | Heatsink สูงไม่เกิน 168 มม. การ์ดจอยาวไม่เกิน 400 มม. |
Drive Bay | 3.5″ x 1, 2.5″ x 2 |
Connectivity | USB-C 3.2 Gen 2 x 1, USB-A 3.0 x 1, Audio x 1, Mic x 1 |
Price | 4,090 บาท (varichezz88 Shopee) |
3. Hydra mini ITX (1,890 บาท)
เคสคอมแบบโครงเหล็กเปิดอย่าง Hydra mini ITX ตัวนี้ผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะถูกใจสายแต่งคอมหรือคนที่ชอบเคสที่ระบายอากาศได้ดีก็น่าซื้อเคสนี้มาใช้มาก แต่ข้อจำกัดของเคสนี้ใส่พาวเวอร์ซัพพลายแบบ SFX หรือ SFX-L และเมนบอร์ดแบบ ITX เท่านั้น โดยเคสนี้ทำจากโลหะสแตนเลส AISI 304 หนาด 2 มม. เคสมีมิติอยู่ที่ 26.3x13x21 ซม. มีจุดติดตั้งฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5″ x 1 ช่อง แต่เมื่อเป็นเคสเปิดจึงไม่จำกัดความสูงของฮีตซิ้งค์หรือความยาวของการ์ดจอเลยและยังมีสายแพ PCIe 4.0 Riser แถมมาให้ต่อจากการ์ดจอที่ฐานด้านหลังมายังเมนบอร์ดด้วย แต่เพื่อความสมดุลย์ของตัวเคสแนะนำให้ใช้การ์ดจอแบบ 1~2 พัดลม จะดีที่สุดแต่จุดสังเกตคือเคสนี้จะไม่มีพอร์ตติดตั้งมาที่ Front I/O Panel ดังนั้นถ้าใครต้องใช้พอร์ตเพิ่มเติมต้องหาอุปกรณ์มาต่อเพิ่มเติม ซึ่งเคสนี้จะเหมาะกับผู้ใช้ที่เป็นสายโมดิฟายแต่งเคสคอมอยากหาเคสแบบเปิดเอาไว้ใช้สักตัวก็แนะนำให้ดูเคสจากแบรนด์นี้ได้เลย
สเปคของ Hydra mini ITX
Dimension Supported Mainboard |
26.3x13x21 ซม. ITX |
Supported Heatsink&GPU | ไม่จำกัดเพราะเป็นเคสเปิด |
Drive Bay | 2.5″ x 1 |
Connectivity | – |
Price | 1,890 บาท (KSC_official Shopee) |
4. GEEEK A50 MAX (3,090 บาท)
GEEEK A50 MAX เป็นเคสคอมเล็กๆ สำหรับบอร์ด ITX (17×17 ซม.) มิติตัวเคส 15.5×21.4x 32.8 ซม. ดีไซน์มินิมอลเหมือนตู้ Subwoofer ตัวหนึ่งและทางผู้ผลิตได้เจาะช่องระบายความร้อนไว้รอบตัวทั้งฝาข้างหรือเพดานเคส รองรับฮาร์ดดิสก์ 2.5″ x 2 ช่อง รองรับฮีตซิ้งค์แบบ Low Profile สูงไม่เกิน 66 มม. และการ์ดจอยาวไม่เกิน 320 มม. และกว้างไม่เกิน 3 Slot และมีพอร์ต USB-C 3.1 x 1 ช่องติดอยู่หน้าเคสถัดลงมาจากปุ่ม Power ให้ใช้ต่อสมาร์ทโฟนเพื่อชาร์จหรือโอนไฟล์ได้ด้วย แต่ข้อสังเกตของเคสนี้จะต้องใช้พาวเวอร์ซัพพลายแบบ SFX, SFX-L เท่านั้น
สเปคของ GEEEK A50 MAX
Dimension Supported Mainboard |
15.5×21.4x 32.8 ซม. ITX (17×17 ซม.) |
Supported Heatsink&GPU | Heatsink สูงไม่เกิน 66 มม. การ์ดจอยาวไม่เกิน 320 มม. |
Drive Bay | 2.5″ x 2 |
Connectivity | USB-C 3.1 x 1 |
Price | 3,090 บาท (cypher_com Shopee) |
5. INWIN B1 (3,590 บาท)
เคส INWIN B1 เป็นเคสคอมเล็กๆ ดีไซน์สวยไม่เหมอนใคร ไซซ์เล็กเพียง 10.8×30.2×23.8 ซม. เท่านั้นและเลือกวางในแนวตั้งหรือนอนก็ได้เพราะที่เคสมีขาตั้งเอาไว้ซัพพอร์ตอยู่และติดตั้งพาวเวอร์ซัพพลายกำลังไฟ 200 วัตต์ 80+ Gold มาให้จากโรงงานด้วย แต่เนื่องจากขนาดเล็กจึงรองรับเฉพาะเมนบอร์ด ITX และติดฮีตซิ้งค์สูงไม่เกิน 60 มม. และใส่การ์ดจอเข้าเคสไม่ได้เลย ส่วนด้านหลังเคสมีช่องติดตั้งฮาร์ดดิสก์ 2.5″ x 2 ช่องอยู่ มีพอร์ต USB-A 3.0 x 1, HD Audio combo x 1 ช่อง ซึ่งขนาดและดีไซน์ของเคสนี้เหมาะจะประกอบเป็นคอมทำงานออฟฟิศหรือเอาไว้ดูหนังฟังเพลงเท่านั้น ไม่เหมาะจะใช้เป็นเกมมิ่งพีซีนักเพราะไม่มีพื้นที่ให้ใส่การ์ดจอแยกเลย แต่ถ้าโจทย์คือคอมใช้งานทั่วไปอยู่แล้วเคสนี้ก็น่าใช้ดีทีเดียว
สเปคของ INWIN B1
Dimension Supported Mainboard |
10.8×30.2×23.8 ซม. ITX |
Supported Heatsink&GPU | Heatsink สูงไม่เกิน 60 มม., ไม่รองรับการ์ดจอแยก |
Drive Bay | 2.5″ x 2 |
Connectivity | USB-A 3.0 x 1, HD Audio combo x 1 |
Price | 3,590 บาท (Hardware Corner Shopee) |
6. INWIN A1 Plus (4,970 บาท)
สำหรับ INWIN A1 Plus เป็นเคสคอมเล็กๆ แต่ฟีเจอร์และลูกเล่นให้มาเยอะล้นตัว โดยทางบริษัทติดตั้งแท่นชาร์จไร้สาย 10W มาตรฐาน Qi เอาไว้บนฝาหลังเคสให้วางมือถือชาร์จได้และได้พาวเวอร์ซัพพลายกำลังไฟ 650 วัตต์ 80+ Gold แถมมาให้จากโรงงานและฐานเป็นอะครีลิคใสพร้อมไฟ RGB แบบปรับแสงสีไฟได้อีกด้วย ขนาดตัวเคสอยู่ที่ 23.1x21x34.3 ซม. ติดตั้งเมนบอร์ด ITX ได้ ใส่ฮาร์ดดิสก์ 2.5″ x 2 ช่อง ใส่การ์ดจอได้ยาวสุด 320 มม. และซิ้งค์ระบายความร้อนซีพียูไม่เกิน 160 มม. ส่วนพอร์ต Front I/O Panel มี USB-A 3.0 x 2 และ HD Audio x 1 ติดตั้งมาให้ใช้งาน ซึ่งในบรรดาเคสคอมเล็กๆ ในบทความนี้ต้องถือว่าเคส A1 Plus ตัวนี้มีลูกเล่นเรื่องแท่นชาร์จไร้สายและได้พาวเวอร์ซัพพลายแถมมาจากโรงงานอีกด้วย ช่วยประหยัดเงินค่าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ไปได้ระดับหนึ่งเลย
สเปคของ INWIN A1 Plus
Dimension Supported Mainboard |
23.1x21x34.3 ซม. ITX |
Supported Heatsink&GPU | Heatsink สูงไม่เกิน 160 มม. การ์ดจอยาวไม่เกิน 320 มม. |
Drive Bay | 2.5″ x 2 |
Connectivity | USB-A 3.0 x 2 และ HD Audio x 1 |
Price | 4,970 บาท (Mediazcom Shopee) |
7. Cooler Master NR200P (2,990 บาท)
Cooler Master NR200P ตัวนี้เป็นเคสคอมเล็กๆ พอวางบนโต๊ะคอมได้สบายๆ แต่ภายในและลูกเล่นของเคสนี้จัดว่าน่าสนใจ โดยทาง Cooler Master ติด Expansion Slot x 2 ช่องแนวตั้งเอาไว้หลังเคสให้ตั้งการ์ดจอโชว์ได้ มีสายแพ PCIe Riser เอาไว้ต่อการ์ดจอเข้าเมนบอร์ดได้ มิติเคสอยู่ที่ 36×18.5×27.4 ซม. รองรับเมนบอร์ด mATX, ITX เพื่อใช้งานได้ มีช่องติดตั้งฮาร์ดดิสก์ 3.5″ x 2, 2.5″ x 3 ช่อง รองรับซิ้งค์ระบายความร้อนซีพียูสูงสุด 155 มม. และใส่การ์ดจอได้ยาวสุด 330 มม. และมีพอร์ต USB-A 3.2 x 2, Audio combo x 1 ติดตั้งมาให้ แต่พาวเวอร์ซัพพลายของเคสนี้ต้องเป็นแบบ SFX, SFX-L เท่านั้น ซึ่งเคส NR200P ตัวนี้ ผู้เขียนถือว่ามันเป็นเคสคอมเล็กๆ ที่ลูกเล่นเยอะน่าใช้งานทีเดียวและดีไซน์เรียบร้อยดูดีทีเดียว หากใครไม่ชอบเคสที่ดีไซน์หวือหวาก็เลือกเคสนี้ไปใช้งานได้
สเปคของ Cooler Master NR200P
Dimension Supported Mainboard |
36×18.5×27.4 ซม. mATX, ITX |
Supported Heatsink&GPU | Heatsink สูงไม่เกิน 155 มม. การ์ดจอยาวไม่เกิน 330 มม. |
Drive Bay | 3.5″ x 2, 2.5″ x 3 |
Connectivity | USB-A 3.2 x 2, Audio combo x 1 |
Price | 2,990 บาท (KSC Official Shopee) |
8. PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR (3,590 บาท)
เคสคอมเล็กๆ น่าใช้และดีไซน์แปลกแหวกแนวในบทความนี้ต้อง PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR ที่ทางผู้ผลิตดีไซน์ให้ตัวเคสเป็นทรงแนวตั้ง เอา Back I/O Panel ของเมนบอร์ดชี้ขึ้นฝาหลังเคสแทน ทำให้ตัวเคสไม่กว้างมากและออกไปทางสูงแทน จึงใช้พื้นที่น้อยแต่ยังใส่การ์ดจอยาวถึง 335 มม. แต่กว้างไม่เกิน 2.9 Slot ใส่ซิ้งค์ซีพียูได้สูงสุด 85 มม. จึงเหมาะจะใช้ชุดระบายความร้อนด้วยน้ำมากกว่า ส่วนมิติตัวเคสอยู่ที่ 17x49x27.4 ซม. รองรับเมนบอร์ดแบบ ITX ใส่ฮาร์ดดิสก์แบบ 3.5″ x 1, 2.5″ x 4 ช่อง มีพอร์ต USB-A 3.0 x 2 ช่องและปุ่มปรับไฟ D-RGB Mode, D-RGB Color ติดตั้งมาให้ปรับไฟ RGB ของเคสแทน ส่วนพาวเวอร์ซัพพลายรองรับขนาด SFX หรือ SFX-L เท่านั้น แต่ถ้าใครอยากทำเคสคอมเล็กๆ ที่ดูเหมือนเครื่องคอนโซล
สเปคของ PHANTEKS EVOLV SHIFT 2 AIR
Dimension Supported Mainboard |
17x49x27.4 ซม. ITX |
Supported Heatsink&GPU | Heatsink สูงไม่เกิน 85 มม. การ์ดจอยาวไม่เกิน 335 มม. |
Drive Bay | 3.5″ x 1, 2.5″ x 4 |
Connectivity | USB-A 3.0 x 2, ปุ่มปรับไฟ D-RGB Mode, D-RGB Color |
Price | 3,590 บาท (Sugazy Shopee) |
จะเห็นว่าเคสคอมเล็กๆ ในปัจจุบันนี้จะมีหลายดีไซน์ทั้งเคสแนวตั้งคล้ายเครื่องคอนโซลและแนวนอนตามมาตรฐาน ดีไซน์มีทั้งแบบเน้นความสวยงามใช้ทำงานทั่วไปหรือจะเป็นสายเกมมิ่งก็มีให้เลือกและแต่ละรุ่นก็มีฟีเจอร์แตกต่างกันไปตามที่ผู้ผลิตจะติดตั้งมาให้ด้วย แต่อย่างไรก็ตามเคสเหล่านี้เป็นเคสขนาดเล็กและมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร จะหยิบชิ้นส่วนคอมไหนมาใส่ตามใจเหมือนเคส ATX แบบมาตรฐานก็ไม่ได้ง่ายๆ ดังนั้นข้อแนะนำของผู้เขียนนั้นอยากให้ผู้อ่านศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่าเคสรุ่นที่หมายตาเอาไว้มีข้อจำกัดอะไร ทำอะไรกับมันได้หรือไม่ได้บ้าง จะได้วางแผนเลือกซื้ออุปกรณ์ได้ถูกต้องไม่เสียเงินฟรีในภายหลังนั่นเอง